When ‘Shakespeare’ went to the Supreme Court

15.2.24

 

[ENGLISH please scroll down]

เมื่อ ‘เชคสเปียร์’ ไปศาลปกครองสูงสุด


สวัสดีปีใหม่กองถ่าย  นักแสดง + ญาติมิตรเชคสเปียร์ต้องตายขอโทษจริงๆที่ส่งข่าวช้า  เพราะการบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในศาลมีข้อจำกัด  จึงเขียนค่อนข้างยาก


หลังขึ้นศาล  เราพาทุกคนไปกินข้าวกลางวันริมแม่น้ำใกล้ๆ  ต่างโล่งใจที่มันผ่านไป  แต่งงงัน  สำหรับผู้ครองพรหมจรรย์ทางกฎหมาย  มันเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ตาเบิกโพลง – สถาปัตยกรรมของตึก (ที่เขาเคยเห็นแล้วใน ‘เซ็นเซอร์ต้องตาย’) ดังโรงเก็บศพประจำตระกูลขุนนางในหนังผีฝรั่งบรรดาเจ้าหน้าที่จำนวนค่อนข้างมากที่คอยแวดล้อมเฝ้าดูเราอย่างใกล้ชิด  ด้วยสีหน้าที่เต็มไปด้วยความกังวล  ระหว่างที่เรานั่งรออยู่ในทางเดินและในห้องพิจารณาคดีข้างๆ ที่ว่างอยู่  เนื่องจากมีความล่าช้าในการไต่สวนคดีก่อนหน้าเรา  ตัวแทนจากกองเซ็นเซอร์และกระทรวงวัฒนธรรมดูไม่สบายใจ  เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลเชิญเขาเข้ามารอในห้องเดียวกับเรา  ซึ่งย่อมเข้าใจได้  ในเมื่อเขามีจำนวนน้อยกว่าเราประมาณ 5 : 20  และเขารู้ดีว่าเรารู้ดีว่า  เขาบอกศาลว่า  เราไม่ได้เสียหายตรงไหน  ที่จริงเราควรดีอกดีใจกับการถูกแบน  เพราะมันทำให้เรามีชื่อเสียง  เขาน่าลองพูดแบบนี้กับ แม็คเบ็ธ เมฆเด็ด ของเรา  บอย - พิศาล พัฒนพีระเดช  ผู้อุตส่าห์เดินทางมาจากพิมาย  เพื่อจะมาปรากฏตัวตนที่นี่ยามนี้  


แต่ภาพที่ยังติดตาจากวันนั้นคือ ไอแวน  โพสท์โปรดักชั่นซูเปอร์ไวเซอร์ของ ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ซึ่งถูกเชิญออกจากห้องพิจารณาคดีเพราะแต่งตัวไม่เหมาะสม – เขารู้สึกผิดมาก  แต่ความจริงก็คือ ช่างตัดต่อแทบทุกคนใช้ชีวิตในกางเกงขาสั้น  เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเรากำลังใส่มันอยู่  เดชะบุญในเป้ฉันมีผ้าโพกหัวจากปาเลสไตน์  ซึ่งฉันรีบผูกรอบเอวเป็นโสร่งให้เขา  อย่าว่าแต่นักท่องเที่ยว  ใครๆ ก็ทำแบบนี้ได้เวลาจะเข้าวัดเข้าวัง  แต่ดีไม่พอสำหรับเจ้าหน้าที่เหล่านี้  “นี่เป็นศาลสถิตยุติธรรมนะครับ!” ชายคนหนึ่งขึ้นเสียง  ราวกับว่าการแก้ปัญหาแบบบ้านๆ ของเราเป็นการล้อเล่นเหมือนเด็ก  “คุณศักดิ์สิทธิ์กว่าวัดหรือคะ?” ฉันถาม  แล้วตอบเอง  เมื่อพวกเขาไม่ตอบ “ในประสบการณ์ของดิฉัน  มันไม่ใช่

 

น่าประหลาดใจที่หลายปีที่ผ่านมา – หลายปีแห่งความไร้อำนาจและการแก่ตัวลง  หลายปีที่นั่งขบคิดถึงเสียงหัวเราะของท่านผู้พิพากษา วชิระ ชอบแต่ง ในศาลชั้นต้น  ในที่สุด  ในนาทีนี้  ได้แปรเปลี่ยนนางผ้าเช็ดเท้าให้กลายเป็น คลินท์ อีสท์วูด  ไอแวนได้กลับเข้ามานั่งฟังในศาล  ในโสร่งพลิ้วจากปาเลสไตน์  ซึ่งเข้ากับเขาเป็นอย่างดี


แต่ไอแวนนั่งอยู่ด้านหลัง  ไกลเกินกว่าที่ฉันจะวาดรูป  ก่อนหน้านี้เราส่งจดหมายมาขออนุญาตถ่ายทำบันทึกภาพและวิดีโอการไต่สวนครั้งนี้  แต่ศาลไม่อนุญาต “เพื่อรักษาความเรียบร้อยในศาล  ตามข้อกำหนดประธานศาลปกครองสูงสุด  เรื่องการรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล  ลงวันที่ 10 เมษายน 2560 และเห็นว่าไม่มีเหตุให้บันทึกวิดีโอและถ่ายภาพภายในห้องพิจารณาคดี  จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอ” (16 .. 66)


คนมักคิดว่าทหารผ่านศึกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เกิดอาการเครียดจากประสบการณ์รุนแรง  สังคมไม่ยินยอมให้คนที่ต่อสู้แบบอหิงสาด้วยปากกา สี ดนตรี และกล้อง  มีสิทธิ์เท่าเทียมที่จะบอบช้ำเช่นกัน  เราไม่เคยฆ่าใคร  ไม่เคยทำให้ใครพิการ  แต่เราทุกข์กับอยุติธรรมเกินทน  เราก็ฟกช้ำดำเขียวเป็น  และจนทุกวันนี้ การสาดเสียและบิดเบือนยังคงดำเนินต่อไป  เพียงเมื่อเดือนที่แล้ว (ตุลาคม 2566) หนังสือจัดพิมพ์แจกจ่ายโดย เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่แล้ว  มีคำว่า  “กรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ของไทยที่กระทรวงวัฒนธรรมออก เม็มโมสั้น บอกว่า  ภาพยนตร์ของอิ๋ง  ไม่สามารถอนุญาตให้จัดจำหน่ายได้  เพราะเนื้อหามีลักษณะที่จะสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนแห่งประเทศไทย (CB News, เมษายน 2012)”


เม็มโมสั้นๆ หรือ? CB News หรือ (คืออะไร)?  เม็มโมสั้นๆ ลากเรามาถึงตรงนี้ หรือที่ศาลปกครองสูงสุด เกือบสิบสองปีต่อมา  นั่งรอฟังชะตากรรมของเรา  สะอื้นไห้  เหมือน มานิต ศรีวานิชภูมิ โปรดิวเซอร์และผู้กำกับภาพของเรา  ขณะที่เขาขานชื่อเพื่อนทั้งสามของเราที่จากไปแม่มด 1 ...สายสิงห์ ศิริบุตรเมฆดับ หมอวิลลี่ ชัชดนัย มุสิกไชย  และเจ้าฟ้ามั่นคำ น้ำมนต์ จ้อยรักษา  ที่ต้องตายจากไปโดยไม่เคยได้เห็นยอดผลงานของตนปลดปล่อยจากคุกออกมาสู่โลกภายนอก


ฉันดูเหมือนทนได้ทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเลวร้ายหรือยาวนานสักแค่ไหน – ตราบใดที่กำลังมองมันผ่านเลนซ์กล้อง  ทุกครั้งที่เจอคำสั่งให้วางกล้องลง  เช่นที่คณะกก.สิทธิมนุษยชนวุฒิสภา (เมื่อเราไปร้องเรียนเรื่องคำสั่งห้ามฉายเรื่องเดียวกัน)  เมื่อองศาบ้าจี้แห่งความไร้เหตุผลแบบเผด็จการขึ้นสูงเกินกว่าจะรับได้  จากความเงียบงันฉันเคยถึงกับกรีดร้องออกมา  ด้วยเสียงร้องจากก้นบึ้งของความสติแตก  ขวัญกระเจิงจากหนังสยองขวัญที่กลายเป็นชีวิตจริงของเรา  ด้วยเหตุนี้ฉันจึงมีสมุดวาดภาพกำอยู่ในมือแทนกล้อง


เร็วๆ นี้ฉันได้ดูเทปเก่าจากการถูกแบนครั้งแรกของฉัน (‘คนกราบหมา’ ซึ่งเพิ่งยื่นใหม่และผ่านเซ็นเซอร์เมื่อปลายตุลาคมนี้)  แล้วอดสังเกตไม่ได้  ด้วยความพิศวง  อากัปกริยาพินอบพิเทาของตนเอง  (ซึ่งสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว – ขอบคุณพระเจ้า)  และชุดสูทเรียบร้อยสีดำ  ซึ่งยังใส่ได้แม้ผ่านไป 25 ปีก็ตาม  เห็นชัดว่ามันเป็นสูทอับโชค  สมควรโยนทิ้งไปในทันที  ฉันใส่เสื้อเชิ้ตลายอำพรางไปแทน  ไม่มีเสื้อนอก  ดูใช้ได้เลยสำหรับหญิงชรา 60 กว่าปี  นี่คือการไปรบ  นี่คือละครเช่นเดียวกับหนังเรื่องอื่นๆ  เรารู้ว่าเราไม่มีหวังที่จะชนะ  แต่หนังของเราขังคุกประหารมา 11 กว่าปี  และฉันไม่รู้สึกพินอบพิเทา ว่านอนสอนง่ายอีกต่อไป


ทุกคนที่อยู่ตรงนั้น  บอกว่าผู้พิพากษาดูมีเมตตา  และน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีที่สามในห้าเป็นหญิง  ว่าไปแล้วท่านทั้งสามดูงดงามและน่าเกรงขามของจริง  ต่างจากฝันร้ายครั้งที่แล้วอย่างเปรียบไม่ได้  ดูเหมือนเป็นคนที่มีหัวใจและมันสมอง  และชวนให้นึกถึงเทวีแห่งชะตากรรมทั้งสามในตำนานกรีกโบราณ  ที่เฝ้าถักทอวัดความยาว  และตัดชีวิตมนุษย์  นี่เป็นนัดพิจารณาคดีครั้งแรก  ครั้งสุดท้าย  และครั้งเดียวของ ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ที่ศาลปกครองสูงสุด 


คราวหน้าคือฟังคำตัดสิน.


ด้วยรักและจริงใจ

อิ๋ง กาญจนะวณิชย์

ผู้กำกับ ‘เชคสเปียร์ต้องตาย

28 .. 2566, กทม.



















When ‘Shakespeare’ went to the Supreme Court

Dear Cast & Crew, Family & Friends of ‘Shakespeare Must Die’, 


Hope everyone’s alive and well—Merry X’mas and Happy 2024!

Many of you have been asking for news. I’m sorry this has taken me a while to write:


When ‘Shakespeare’ went to the Supreme Court

 

Afterwards we took everyone to the river nearby for lunch. Happy it was over but subdued. For legal virgins it was an eye-opening experience—the crypt-like court building (straight out of ‘Censor Must Die’), the many anxious officials keeping a constant eye on us as we waited outside in the hallway and in a courtroom next door for the delayed hearing to begin. The censors’ representatives looked nervous when they were shown into the same room to wait with us, understandably so since they were outnumbered (about 20:5), and they knew we knew they’ve told the court that, far from suffering any damage, we should be delighted with the ban because it made us famous. Tell that to our Macbeth, Boy Pisarn Pattanapeeradej who came all the way from Pimai to be here now.


But the sight that stays with me from that day is of Ivan, Shakespeare Must Die postproduction supervisor, being taken out of the courtroom for wearing shorts. He felt bad for it but the thing is editors live in shorts; we don’t even realise we have them on. Fortuitously in my bag was a Palestinian keffiyeh, which I could tie around him as a sarong. People do this all the time to successfully gain entry to temples and palaces. But not good enough for these officials. “This is a Court of Justice!” a man said, outraged by my pragmatism which he had taken for flippancy. “Are you more sacred than a monastery?” I asked them, and answered myself when they said nothing, “Not according to my experience.” It was astounding how these long years of powerlessness and growing older, of dwelling on Judge Vachira Chobtang’s laughter, have finally transformed this doormat into Clint Eastwood. Ivan got back into the courtroom, convincing in his flowing sarong from Palestine.


But he sat too far back for me to sketch. We’d sent a letter earlier to request permission to film the hearing, but permission was denied (“to preserve good order in court, according to Supreme Administrative Court Chairman’s regulation dated 10 April 2017 on the preservation of order in the vicinity of the court, and we also see no reason for video recording and photography in the courtroom, hence the order is issued to withhold the permission you requested.” - 16 Nov 2023). I had hit upon the idea of sketching like courtroom artists in crime movies because I was afraid of losing it. 


People think only war veterans get PTSD. The world does not allow that people who fight non-violently with pen, paint, music and camera can suffer from trauma just as much. We’ve killed and maimed no one, but we continue to endure great injustice and we are bruised black and blue. To this day the slander and misrepresentation continue. As recently as last month (October 2023), a book issued by Busan International Film Festival contained the words “the Thai censors at the Culture Ministry issued a brief memo saying that Ing’s film could not be distributed because its content was perceived as causing divisiveness amongst the people of Thailand (CB News, April 2012).” 


A brief memo? CB News? A brief memo got us here? To the Supreme Administrative Court almost 12 years later, waiting for our fate. Weeping, like our producer Manit Sriwanichpoom on the stand as he roll-called our 3 dead friends, First Witch MR Saisingh Siributr, Macduff ‘Dr Willie’ Chatdanai Musigchai and Malcolm Nammon Joiraksa, all dying without seeing their best work released from prison into the world. 


So long as I’m observing through a camera lens, I can handle anything however vile. Each time I’ve been told to put the camera down, such as at the Senate Human Rights hearing on this same ban, when the fascistic absurdist quotient reaches unbearable levels, I’ve literally screamed. A primal scream invoked by the real-life Frankenmovie we were in. Hence the sketchbook clutched in hand in place of a camera.


Recently going through old footage from 1998 of my first banning (My Teacher Eats Biscuits/DogGod, recently resubmitted and freed this October), I noticed with amazement and horror my own submissive mannerisms, all long gone thank God, my one proper black suit which though still fits after 25 years is clearly an unlucky suit, to be ditched immediately. Instead I wore a camouflage shirt, no jacket. This is combat. This is theatre like any movie, after all. We know we have no hope of winning but our film has been on death row for 11 years and I don’t feel submissive any more.


All who were there said the judges seemed sympathetic, that it was perhaps a good sign that three of the five are women. They did seem lovely and awe-inspiring, a huge change from our previous nightmare. They look like they have hearts and brains. They also reminded me of the Fates in Greek mythology, the grey goddesses who weave, measure and cut. This was Shakespeare Must Die’s first, last and only hearing at the Supreme Administrative Court. 


Next time, whenever that may be, is the verdict. 


with love, truth and beauty,

Ing K

Director, Shakespeare Must Die

28 November 2023, Bangkok