[ENGLISH please scroll down]
คำพิพากษาประวัติศาสตร์
ศาลปกครองสูงสุดปลดปล่อยเชคสเปียร์ต้องตาย
ต้องใช้เวลาสักพักในการนั่งอ่านและแปลส่วนที่เป็นใจความสำคัญของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และการฟันฝ่าข้อความทางกฎหมายที่หนาแน่นและเกือบปราศจากย่อหน้าและการเว้นวรรค ซึ่งทวนความถึงอดีตอันเลวร้าย ทำให้ความงุนงงตกตะลึงในชัยชนะอันเหลือเชื่อของเรานั้นเพิ่มขึ้นไปอีก รวมทั้งความซาบซึ้งในคุณค่าของคำพิพากษาอันละเอียดและลึกซึ้งของคณะท่านผู้พิพากษา สิ่งที่เราได้รับไม่เพียงแต่เสรีภาพของเราเองที่รอคอยมาแสนนาน คือเกือบ 12 ปี แต่คณะท่านผู้พิพากษาดูเหมือนจะเข้าใจเหตุจูงใจที่กว้างกว่าในการต่อสู้ของเรา ว่าเราไม่ได้ต่อสู้เพียงเพื่อเสรีภาพของตัวเราเอง ฉันตกตะลึงที่พวกท่านมองเห็นหัวอกของเรา
คำพิพากษาของท่านคือปาฏิหาริย์ที่ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะว่านี่คือครั้งแรกที่อำนาจเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ที่กองเซ็นเซอร์เคยมีเหนือชะตากรรมของภาพยนตร์ไทย ต้องมารับผิดชอบการละเมิดสิทธิของเราที่จะเล่าเรื่องที่เราอยากเล่า มันคือปาฏิหาริย์ที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราในฐานะนักทำหนังไทยได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นอกเห็นใจและให้เกียรติ อย่างแท้จริง ไม่ใช่ ‘เกียรติ’ พรมแดงกับแสงแฟลช คือด้วยความรักและเมตตาแทนความกลัวและชิงชัง ราวกับว่าเราเป็นมนุษย์เหมือนคนอาชีพอื่นๆ และไม่ใช่ความชั่วร้ายอบายมุขที่มาทำให้สังคมเสื่อมทราม
อุทิศแด่ผู้เป็นที่รักของเราที่จากไปก่อนที่จะมีวันนี้ วันที่ผลงานของเขาได้รับการปลดปล่อยออกมาจากคุก : แม่มดเอก ม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร, เมฆดับ หมอวิลลี่ ชัชดนัย มุสิกไชย, เจ้าฟ้ามั่นคำ น้ำมนต์ จ้อยรักษา และ มงคล อุทก หรือ พี่หว่อง คาราวาน ผู้ประพันธ์และขับร้องบรรเลงเพลง ‘อนิจจา’ ด้วยคำร้องของ วิลเลียม เชคสเปียร์ (“อนิจจาบ้านเมืองน่าเวทนา เจ้าแทบไม่กล้ารู้จักตัวเอง มิอาจเรียกได้ว่าแผ่นดินแม่ แต่เป็นหลุมศพของเรา”) และอาจารย์วสันต์ พานิช ทนายความของเราที่เพิ่งจากไปเมื่อปีที่แล้ว เราสำนึกดีว่า ชัยชนะครั้งนี้ไม่ใช่ของเราเท่านั้น แต่เป็นของนักทำหนังไทยทุกคน นับว่าเป็นคำพิพากษาที่กล้าหาญและสร้างประวัติศาสตร์
จากนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราว่า เราจะใช้เสรีภาพสดใหม่ทางการสร้างสรรค์ อันเต็มไปด้วยความเป็นไปได้นี้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้ร่มเงาของบรรทัดฐานใหม่นี้
ผู้คนถามว่า ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ จะเข้าฉายเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร นั่นคือศึกใหม่อีกทั้งยกที่จะนำของขวัญแห่งเสรีภาพจากคณะตุลการออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง มันขึ้นอยู่กับเราทุกคนนักทำหนัง, โรงหนัง และคนดูที่จะทดสอบเสรีภาพนั้นเพื่อให้มันมีชีวิต ทั้งในการสร้างสรรค์และทางธุรกิจ
ฉันสวดมนต์ขออาจารย์วิลด้วยคำพูดของท่านเอง ซึ่งเขียนขึ้นในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยข่าวลือ ข่าวปลอม และการใส่ร้ายป้ายสีล่าแม่มด ไม่ต่างจากยุคของเรา แต่ฉันสลับ ‘ดีงาม’ กับ ‘ต่ำทราม’ เพื่อล้างอาถรรพ์มนต์ดำ ‘ดีงามคือต่ำทราม’ ของ 3 แม่มด:
“ต่ำทรามคือต่ำทราม และ ดีงามคืองามดี
เจาะผ่านเมฆหมอกและบรรยากาศมืดมัว” *
ไชโย! และกอดรัดฟัดเหวี่ยง
อิ๋ง กาญจนะวณิชย์
ผู้กำกับ ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’
*ในเรื่องของหมอกและความมืดมัว ต้องขอแก้ข้อมูลที่ผิดในรายงานข่าวของ นสพ. บางกอกโพสต์ ที่ตรงนี้ เนื่องจากว่าฉันไม่มีสิทธิเขียนจดหมายตอบโต้ในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
1/ กองทุนไทยเข็มแข็งที่ให้ทุนกับ ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ และหนังอื่นๆ อีกหลายเรื่องรวมทั้ง ‘ลุงบุญมี’ เป็นโครงการของรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่ของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งยกเลิกโครงการนั้น และเป็นผู้สั่งห้ามฉาย ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ด้วยเหตุผลเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
2/ ภาพถ่ายเก่าจากการประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลเกือบ 12 ปีที่แล้วที่เขามาลง ไม่ใช่ภาพผู้อำนวยการสร้าง (และผู้กำกับกล้อง) มานิต ศรีวานิชภูมิ แต่เป็นอาจารย์ สกุล บุณยทัต ผู้แสดงเป็นบุญรอด (Ross) ในคราบของเชคสเปียร์ ที่กำลังท่องบท ‘อนิจจาบ้านเมือง’ ให้นายกยิ่งลักษณ์ ในเสียงก้องกังวานของเขา
เชคสเปียร์ต้องตาย – คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
คำพิพากษา(อุทธรณ์)
คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ที่ ๑
คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ ๓ ที่ ๒
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
(บางส่วนของคำพิพากษา)
หน้า ๓๕ บรรทัด ๘ - หน้า ๓๖ บรรทัด ๑๔
....เห็นได้ว่า แม้ภาพยนตร์ดังกล่าวจะมีเนื้อหาบางตอนที่สื่อให้เห็นว่าเป็นสังคมไทยและฉากความรุนแรงตอนท้ายเรื่องมีลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กล่าวอ้างก็ตาม แต่ภาพยนตร์ดังกล่าวทั้งเรื่องเป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือต้องการสื่อกับผู้ชมภาพยนตร์ในแง่มุมของความชั่วร้ายที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์ โดยยกเอากรณีผู้นำประเทศที่งมงายในไสยศาสตร์ มักใหญ่ใฝ่สูงและบ้าอำนาจ ได้ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ชอบธรรมตามบทละครของวิลเลียม เชคสเปียร์ บทภาพยนตร์ดังกล่าวมิได้ต้องการจะสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ แต่อย่างใด ส่วนตอนท้ายของเรื่องที่มีกลุ่มบุคคลที่คลั่งไคล้ในตัวท่านผู้นำ (ในโลกภายนอก) โกรธแค้นที่มีการแสดงละครล้อเลียนท่านผู้นำ ได้เข้าไปทำร้ายนักแสดงและผู้คนที่กำลังนั่งดูละคร รวมทั้งได้ทำร้ายผู้กำกับละคร (ที่แต่งตัวเหมือนเชคสเปียร์) แล้วลากออกไปด้านหน้าโรงละคร จับแขวนคอและทุบตีด้วยเก้าอี้เหล็กพับท่ามกลางกลุ่มคนจำนวนมากที่ส่งเสียงเชียร์ แม้อาจจะเป็นการเลียนแบบมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ก็ตาม แต่ฉากการแสดงดังกล่าวใช้เวลาประมาณ ๑ ถึง ๒ นาที ไม่น่าจะทำให้ผู้ชมภาพยนตร์เข้าใจว่าเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ หรือหากผู้ชมภาพยนตร์เข้าใจว่าเป็นการเลียนแบบมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ กรณีก็เห็นได้ว่าเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวได้ยุติไปนานแล้ว ซึ่งหากนับถึงวันที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองขออนุญาตนำภาพยนตร์ออกฉายในราชอาณาจักร ระยะเวลาได้ผ่านมากว่า ๓๐ ปีแล้ว ประกอบกับปัจจุบันก็ได้มีการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นประจำทุกปี และมีการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ในสื่อต่างๆ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต กรณีจึงไม่น่าจะก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ นอกจากนี้ หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีความรุนแรงมากเกินไปหรืออาจทำให้บุคคลที่ยังมีวิจารณญาณไม่เพียงพอในการรับชมจนเกิดความเข้าใจผิดหรือเกิดความเครียดเกินสมควร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก็สามารถใช้ดุลพินิจจัดประเภทของภาพยนตร์ให้เป็นภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีดู ตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง (๖) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองนำภาพยนตร์ เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ออกเผยแพร่ในราชอาณาจักร จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลที่ไม่เข้าเงื่อนไขเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด และถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งมีผลทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่มีมติให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ข้ออ้างในประเด็นอื่นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟังขึ้น
หน้า ๓๗ ย่อหน้า ๒ - หน้า ๓๘ บรรทัด ๔
เมื่อได้วินิจฉัยไปแล้วว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องทั้งสองนำภาพยนตร์ เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ออกเผยแพร่ในราชอาณาจักร และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับปัญหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือไม่ เพียงใด นั้น เห็นว่า เมื่อศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองนำภาพยนตร์ออกเผยแพร่ในราชอาณาจักร และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ทีมติยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแล้ว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองก็สามารถนำภาพยนตร์ออกเผยแพร่ในราชอาณาจักรได้ ส่วนเมื่อนำออกฉายแล้วจะมีรายได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าชมภาพยนตร์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการสร้างภาพยนตร์จึงไม่ถือว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการกระทำละเมิด จึงไม่จำต้องกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติรับรองไว้ ย่อมทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหายจากการถูกลิดรอนเสรีภาพและความเสียหายจากการสูญเสียโอกาสและเสียเวลาในการประกอบอาชีพโดยการนำภาพยนตร์ออกฉายภายในกำหนดเวลาอันเหมาะสม เมื่อพิเคราะห์จากพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับดอกเบี้ยจากค่าเสียหายจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท นั้น เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับจากวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองนำภาพยนตร์ออกเผยแพร่ในราชอาณาจักร อันถือว่าเป็นวันที่กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองจนถึงวันที่ ๙ สิงหาคา ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันฟ้องคดี รวมเป็นเวลา ๑๒๙ วัน คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน ๑๓,๒๑๗.๒๑ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๑๓,๒๑๗.๒๑ บาท
หน้า ๓๘ ย่อหน้า ๒ - จบ
โดยที่การกระทำละเมิดในคดีนี้เกิดจากการตรวจพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ รวมทั้งภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร จะต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก่อนตามมาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กรณีจึงต้องถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แม้จะมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๖) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ แต่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นเพียงการพิจารณาทบทวนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หาได้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการตรวจพิจารณาและอนุญาตให้นำภาพยนตร์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรแต่ประการใด ดังนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่จำต้องร่วมรับผิดกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามบันทึกการตรวจภาพยนตร์ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองนำภาพยนตร์ เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ออกเผยแพร่ในราชอาณาจักร และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่มีมติยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง รวมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จ่ายค่าสินไหมทดแทนจำนวนเงิน ๕๑๓,๒๑๗.๒๑ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องคดีจนถึงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๔ และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปี หรืออัตรดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ ๒ ของต้นเงินดังกล่าว นับจากวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ทั้งนี้ ให้ดำเนินการชำระค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา รวมทั้งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองชั้นศาลบางส่วนตามส่วนของการชนะคดีให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง
นายพงษ์ศักดิ์ กัมพูสิริ ตุลาการเจ้าของสำนวน
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่ง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
นางสิริกาญจน์ พานพิทักษ์
ตุลาการหัวหน้าคณะ
ประธานแผนกคดีบริหารราชการแผ่นดิน
ในศาลปกครองสูงสุด
นางสุมาลี ลิมปโอวาท
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายวิชัย พจนโพธา
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นางสาวสายทิพย์ สุคติพันธ์
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการผู้แถลงคดี : นายอาณัติ สุขปะทิว
……………………………………………………………
'Shakespeare Must Die' Trailer :
https://www.youtube.com/watch?v=vd6JEk6Imco
'Censor Must Die' Trailer :
https://www.youtube.com/watch?v=I07CVmF6OK0
IN HISTORIC RULING
SUPREME ADMIN COURT FREES ‘SHAKESPEARE’
Dear Cast , Crew, Family & Friends of Shakespeare Must Die,
It’s taken me a while to translate the highlights of the Supreme Administrative Court’s verdict, below. Ploughing through the dense legal text with many repetitions, few paragraphs and pauses (Thai is writtenlikethis) recapping the traumatic past, has deepened both my dazed state of disbelief that we have won, and my appreciation of the judges’ detailed verdict.
Not only did we win our freedom at long last after nearly 12 years, but the judges appear to have understood our more universal motivation, the wider reason for our struggle; that it’s not just our own liberation we’re fighting for. Their empathy is astounding, their verdict impossible and miraculous because for the first time the censors’ absolute power of life and death over Thai cinema has been made to answer for its violation of our right to tell the stories we want to tell.
Impossible and miraculous because, for the first time, we as Thai filmmakers have been treated justly, with sympathy and dignity, with love and mercy instead of fear and loathing, as if we were human beings like people of other professions and mediums, rather than evil corruptors.
Dedicated to our dear departed who did not live to see this day: First Witch Na Ning MR Saisingh Siributr, Macduff Doc Willie Chatdanai Musigchai, Prince Malcolm Nammon Joiraksa, human rights lawyer Wasan Panich, and Pi Whong Caravan Mongkol Utok who wrote and performed our theme song ‘Alas’, with lyrics by William Shakespeare (Alas poor country, almost afraid to know itself. It cannot be called our mother but our grave), this victory is not just ours but every Thai filmmakers’. The judges have made a courageous and historic ruling. It is up to us, now, to exercise our potential new freedom of creativity with the protection of this legal precedent.
So when will Shakespeare Must Die be released? That’s a whole other battle to bring the judges’ precious gift of freedom into the real world, and it is entirely up to all of us—filmmakers, theatres and audience—to actualize that freedom and make it our own; let it come alive, and thrive, in an explosion of creativity.
And yes, I did pray to Mr Will himself, with a homemade mantra fashioned from his own words, written in a time of fake news, spin, witch-hunts and slander much like our own, but switched around to undo the Three Witches’ evil spell of “Foul is Fair”:
Foul is foul and fair is fair,
PIERCING through the fog* and filthy air!
Yayy and bear hugs all around, with love from
Ing K
Director, Shakespeare Must Die
*On the subject of fog, since I’m banned from the right to reply in Postbag, I’m forced to make corrections here to the Bangkok Post newspaper’s report:
1) The Make Thailand Strong or Thai Khem Khaeng Film Fund which funded Shakespeare Must Die and many other films including Uncle Boonmee, was the initiative of the Abhisit Vejjajiva government, not the Yingluck Shinawatra government, which discontinued it and also banned Shakespeare Must Die as a national security threat.
2) The old photo they used from our 2012 protest in front of Government House is not of producer and DP Manit Sriwanichpoom but of resonant- voiced actor and drama professor Sakul Bunyatat who, as Ross/Shakespeare was reciting his Alas poor country lines to Yingluck.
…………………………………………………………
Shakespeare Must Die Supreme Court Verdict
Unofficial literal translation:
20 Feb. 2024
(Tor 22.1)
VERDICT
(Appeal)
Black Numbered Case Or Ror 246/2560
Red Numbered Case Or Ror 7/2567
In the Name of HM the King
The Supreme Administrative Court
23rd of January Buddhist Era 2567
Between
Plaintiffs
Mr Manit Sriwanichpoom #1
Miss Smanrat Kanjanavanit #2
Defendants
National Board of Film and Video #1
3rd Committee of Board of Film and Video Censorship #2
Department of Cultural Promotion #3
In the matter of: Case of dispute in connection with unlawful action by a governmental agency or official, and abuse of power by a governmental agency or official in their legally authorised capacity
Excerpts
Page 34, line 15 – 26
Scrutiny of the reason given by Defendant#2 to justify the order banning the 2 plaintiffs from releasing the film ‘Shakespeare Must Die’ for screening, rental, exchange or distribution in the Kingdom, namely, the film’s insertion of the events of 6 October 1976, which may cause divisiveness and disunity among the people of the nation; upon deliberation from the synopsis and [script pages] of the film, along with having watched the film on the DVD which is the material evidence in this trial, it turns out that this film is almost entirely inspired by a legend of politics and the occult; the film’s content and script are taken almost entirely from the original play ‘The tragedy of Macbeth’ by English author William Shakespeare. Some adaptations have been made for cinematic reasons and in order to suit the Thai cultural context. The film tells of parallel events in the ‘Theatre’ and the ‘Outside World’ in an imaginary country..
Page 35, line 8 – Page 36, line 14
..and the final scene of the film ends with Dear Leader successfully seizing power and announcing a State of Emergency on television. It can be seen that, even though the said film has content parts of which communicate the sense that it is [taking place in] Thai society, and the scene of violence towards the end is reminiscent of the violent events of October 6, 1976 as claim by Defendant#1 and #2, the entire story of the said film is a representation of the evil in man’s mind which the film wishes to communicate to the audience through the example of the ruler of a country who is power-crazed, ambitious, obsessed with the occult, who abuses his power as in the script of William Shakespeare’s play. The said film has no intention to communicate or express critical opinions on the events of unrest in Thailand on October 6, 1976. As for the ending, when a crowd of fanatical supporters of Dear Leader (in the Outside World), enraged by the performance of a play that satirizes Dear Leader, rush in to attack the actors and members of the audience, along with dragging the director of the play (who is dressed like Shakespeare) out of the theatre to hang by the neck and smash with a metal folding chair amidst a large cheering crowd; even though it imitates events of national domestic unrest on October 6, 1976, the said scene lasts approximately 1 to 2 minutes, which should not be enough to cause members of the audience to conclude that it [portrays] the events of October 6, 1976. Or should the audience understand that it imitates events of October 6, 1976, it is evident that the said events of unrest are now long over. Counting from the date when the 2 Plaintiffs submitted their request for permission to distribute the film in the Kingdom, over 30 years have passed since then. As well, nowadays there are annual commemorative events for October 6, 1976; visuals of the events of October 6, 1976 are widely distributed in various media for the younger generation to learn of the mistakes of the past, [the referencing of October 6 massacre] is therefore unlikely to cause divisiveness and disunity among the people of the nation. Furthermore, if Defendant#2 considered that this film is too violent or might cause people who lack sufficient judgement to be misled or become excessively stressed, Defendant#2 could have exercised their consideration to rate the film as forbidden to those under the age of 20 [20+ rating], according to Article 26(6) of the Film and Video Act of 2008. Therefore, Defendant#2’s order to ban the 2 Plaintiffs from distributing the film ‘Shakespeare Must Die’ in the Kingdom is a restriction of personal freedom which does not fit the criteria of preservation of state security, [or] to protect the right, freedom, honour, reputation, familial rights or privacy of other persons, [or] to preserve peace and order or the good morality of the people, or to prevent or stop the degradation of the people’s minds and health, as delineated by the Constitution of the Kingdom of Thailand; [the order] is accordingly deemed to be an unlawful order, which also resulted in Defendant#1’s ruling to dismiss the 2 Plaintiffs’ appeal [to the Film Board to lift the ban] to also become an unlawful order. Therefore, other claims [of discrimination?] made by the Plaintiffs need not be considered since it does not change the outcome of the trial: the Plaintiffs’ appeal is legitimate.
Secondly, were the actions of Defendant#1 and Defendant#2 a violation of the 2 Plaintiffs? If it is a violation, would Defendant#3 be liable for damages and compensation to the 2 Plaintiffs or not, and to what extent?
Page 37, paragraph 2 – Page 38, line 4
Since it is already deemed that Defendant#2’s order which does not permit the 2 Plaintiffs to release the film ‘Shakespeare Must Die’ in the Kingdom, and that the appeal ruling by Defendant#1 which dismissed the 2 Plaintiffs’ appeal is an unlawful order, therefore the actions of Defendant#1 and Defendant#2 are a violation of the 2 Plaintiffs according to Article 420 of Civil and Commerce legislation. As for the question whether Defendant#3 should be liable to pay compensation for damages to the 2 Plaintiffs or not and to what extent, the opinion is this: Since the Court has issued the verdict to repeal the order by Defendant#2 to ban the 2 Plaintiffs from releasing the film in the Kingdom, and the appeal ruling by Defendant#1 to dismiss the 2 Plaintiffs’ appeal, the 2 Plaintiffs are [now] able to distribute the film in the Kingdom; after the release the amount of income that might be earned is dependent upon the number of people who go to see the 2 Plaintiffs’ film. Therefore, the costs incurred in the production of the film is not held to be direct damage resulting from the violation, hence it is not necessary to specify the cost of the damage in this instance for the 2 Plaintiffs. As regards the restriction of the 2 Plaintffs’ freedom of expression as guaranteed by the Constitution of the Kingdom of Thailand, this has naturally caused damage to the 2 Plaintiffs whose freedom was restricted, as well as damage from loss of opportunity and time in their professional career when the film was not released at a suitable time. Having considered the circumstantial conduct and the gravity of the violation, it is deemed that compensation for the 2 Plaintiffs should be paid in cash to the amount of 500,000 baht. As for the interest on the compensation of 500,000 baht, it is deemed that the 2 Plaintiffs have the right to receive an interest of 7.5 % per year of the said amount of cash, counting from 3 April 2012, the day that Defendant#2 issued the order to ban the 2 Plaintiffs from releasing the film in the Kingdom, which is held to be the day of the action that violated the 2 Plaintiffs, until 9 August 2012, the day of the filing of the case [at Administrative Court], altogether a total of 129 days, compounding the interest to the amount of 13,217.21 baht to make the total cash amount of 513,217.21 baht..
Page 38, paragraph 2 - end
Since the action of violation in this case arose from the inspection and rating of films that are to be released, rented, exchanged or distributed in the Kingdom, which is in the direct jurisdiction of Defendant#2, as well [the fact] that films intended for release, rental, exchange or distribution in the Kingdom must pass inspection and be given permission from Defendant#2 according to Article 18 and Article 25 of the Royal Edict on Film and Video 2008, it must be deemed in this case that the execution of duty in the said issue is the responsibility of Defendant#2. Since Defendant#2’s execution of duty is a violation of the 2 Plaintiffs, Defendant#3, which is a governmental agency acting as the secretariat office for Defendant#2, must be responsible for damages compensation plus interest to the 2 Plaintiffs, according to Article 5 of the 1996 Royal Edict on Responsibility for Violation by Officials. As for Defendant#1, which has jurisdiction over deliberation of the 2 Plaintiffs’ appeal according to Article 9(6) of the 2008 Royal Edict on Film and Video, the execution of said duty merely consisted of reviewing the lawfulness of Defendant#2’s order. Defendant#1 has no direct jurisdiction over inspection of films and and permission for their release… Therefore, the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Culture which is the governmental agency acting as the secretariat office for Defendant#1, has no share in Defendant#3’s guilt.
That the Administrative Court of First Instance ruled to dismissed the case, the Supreme Administrative Court does not agree with.
The verdict reverses the verdict of the lower Adminstrative Court, to lift the order by Defendant#2 in the Memo of Film Inspection, dated 3 April 2012, which did not permit the 2 Plaintiffs to release the film ‘Shakespeare Must Die’ in the Kingdom, and the appeal ruling by Defendant#1 according to the [Film] Board meeting number 3/2012 on 11 May 2012 which ruled to dismiss the 2 Plaintiffs’ appeal. Also, Defendant#3 is required to pay compensation of 513,217.21 baht plus interest of 7.5% per year of the principal sum of 500,000 baht, counting from the day of the filing of the case, up to 10 April 2021 and interest of 3 % per year or the new interest rate as adjusted by the Finance Ministry... plus 2% of the said principal sum, counting from 11 April 2021 onwards until it is fully paid up. Other requests aside from this are dismissed. The payment of compensation with said interests must be done within 90 days from the date of this verdict. The court fees for both courts should also be returned to the 2 Plaintiffs, partially and proportionate to the 2 Plaintiffs’ victory in the case.
[signed]
Mr Pongsak Kampusiri
Case Record Judge
Justice of the Supreme Administrative Court
Acting Chief Justice of the Supreme Administrative Court
Mrs Sirigarn Panpitak
Chief Judge
Chair of Administration of the Realm Cases
in the Supreme Administrative Court
Mrs Sumalee Limpa-ovart
Justice of the Supreme Administrative Court
Mr Vichai Pojanapotha
Justice of the Supreme Administrative Court
Miss Saithip Sukatipant
Justice of the Supreme Administrative Court
…………………………………………………………