ล่าสุดกรณี ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’: ๔ กันยายน ๒๕๕๖ : SHAKESPEARE MUST DIE update 4 September 2013, Bangkok

4.9.13

 



ล่าสุดกรณี ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’: ๔ กันยายน ๒๕๕๖

ภายใต้พาดหัวตัวใหญ่ “นายกเตรียมตัวปาฐกถาครั้งประวัติศาสตร์ที่ยูเอ็น”  หนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์วันนี้รายงานว่า อาทิตย์หน้าที่กรุงเจนีวา น้องสาวของทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำไทยคนแรกที่จะได้แสดงปาฐกถาต่อสภา สิทธิมนุษยชนแห่งองค์กรสหประชาชาติ (UNHRC)  


ซึ่งในสายตาของคนไทยจำนวนมาก  กลับยิ่งทำให้คำว่า ‘สิทธิมนุษยชน’,  ‘เสรีภาพของสื่อ’, ‘ความเป็นธรรม’ และ ‘ประชาธิปไตย’ หม่นหมองขึ้นไปกว่าเดิมอีก ด้วยว่ามันกลายเป็นเพียงเครื่องมือบิดเบือนข้อมูลสร้างภาพของนักล่าอาณานิคมเชิงการค้า  


อย่างไรก็ดี  การสื่อสารระหว่างรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิเสรีภาพทางวัฒนธรรมและทางการแสดงออกขององค์กรสหประชาชาติ ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมานี้  อาจช่วยรื้อฟื้นศรัทธาที่เราพึงมีต่อคำศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้กลับคืนมาได้บ้างเล็กน้อย





SHAKESPEARE MUST DIE update 4 September 2013, Bangkok





Under the bold headlines “PM gears up for historic UN speech”, the Bangkok Post today reports that next week in Geneva, Thaksin Shinawatra’s little sister becomes the first Thai Prime Minister to address the UN Human Rights Council (UNHRC), thereby further tainting Thai perception of such grievously abused words as ‘human rights’, ‘media freedom’, ‘truth and justice’ and ‘democracy’, which have become mere tools of corporate colonial spin. Our faith in these sacred concepts may be restored a little by the following communication, between the Yingluck government and the UN special rapporteurs on cultural rights and freedom of expression, recently released to the public.













[Unofficial Translation]



                                                                                                       สหประชาชาติ

                                                                                           สำนักงานองค์กรสหประชาชาติ

                                                                                                                          ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชน



                                                                                                   ปฏิบัติการพิเศษของ

                                                                                                                                      สภาสิทธิมนุษยชน



              บัญญัติแห่งผู้รายงานพิเศษในประเด็นสิทธิทางวัฒนธรรมและผู้รายงานพิเศษในการ

ส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพทางความคิดและในการแสดงออก



Reference: AL Cultural rights (2009) G/SO 214(67-17)



                                                                                                       15 มีนาคม 2556

ฯพณฯ ท่าน,

              เรามีเกียรติได้ติดต่อท่าน ในฐานะที่เราเป็นผู้รายงานพิเศษประเด็นสิทธิทางวัฒนธรรมและผู้รายงานพิเศษในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางความคิดและในการแสดงออก ตามปฏิสัญญาที่ 19/6 และ 16/4 แห่งสภาสิทธิมนุษยชน

              ในเรื่องนี้ เราใคร่ขอนำเสนอต่อการพิจารณาของรัฐบาลของ ฯพณฯ ท่าน ข้อมูลที่เราได้รับเกี่ยวเนื่องกับ การอ้างว่ามีการสั่งห้ามจัดจำหน่ายในประเทศไทย ภาพยนตร์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย ผลิตโดย นายมานิต ศรีวานิชภูมิ และกำกับโดย นางสาวสมานรัชฎ์ กาญจนะวนิชย์



ตามข้อมูลที่ได้รับมา :



วันที่ 3 เมษายน 2555 คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ คณะที่ 3 แห่งกระทรวงวัฒนธรรม ออกคำสั่งห้ามจัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย ในประเทศไทย  ภาพยนตร์เรื่องนี้  ซึ่งสร้างโดยนายมานิต ศรีวานิชภูมิ  และเขียนและกำกับโดย น..สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เป็นการดัดแปลงเป็นภาษาไทยจากแม็คเบ็ธ ของ วิลเลี่ยม เชคสเปียร์



คำสั่งห้ามฉายประกาศออกมา ทั้งที่ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ตกลงยอมรับการจัดประเภทระดับที่ 6 (ต้องห้ามสำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า 20)  ซึ่งเป็นการประนีประนอมกับกองเซ็นเซอร์  ตามมาตรา 26(7) ของ พรบ. ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ 2551 และมาตรา 7(3) ของกฎกระทรวงกำหนดประเภทภาพยนตร์   คำสั่งห้ามฉายของกรรมการคณะที่ 3 กล่าวว่า  ณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ “มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ”  ตามข้อมูลที่ได้รับ  มาตรา 23 ของ พรบ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ กล่าวว่า  “ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องดำเนินการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย  ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง  และเกียรติภูมิของประเทศไทย”  นอกจากนี้  ภายใต้มาตรา 29  “คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์มีอำนาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขหรือตัดทอนก่อนอนุญาต  หรือจะไม่อนุญาตก็ได้”



ผู้สร้างภาพยนตร์ไม่ยินยอมถ่ายทำใหม่ฉากต่างๆ ที่คณะที่สามเห็นว่าเป็นปัญหา มีการกล่าวหาว่าการแบนภาพยนตร์นี้มีแรงผลักดันจากเหตุผลทางการเมือง  เนื่องจากว่ามีความเกรงกลัวว่าการเสนอภาพของจอมเผด็จการในภาพยนตร์  อาจเป็นที่ระคายเคืองต่ออดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร  พี่ชายของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร   มีการกล่าวหาอีกด้วยว่า  ความกังวลหนึ่ง [ของคณะกรรมการเซ็นเซอร์] นั้นเกี่ยวเนื่องกับกรณีเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519   ซึ่งในเหตุการณ์นั้น นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกรุงเทพฯ ถูกทำร้ายอย่างรุนแรงโดยกองกำลังมั่นคงต่างๆ ของรัฐ



ในวันที่ 17 เมษายน 2556  ผู้สร้างภาพยนตร์ยื่นอุทธรณ์ต่อประธานของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติของกระทรวงวัฒนธรรม  และยื่นต่อ [สำนักงาน] คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติอีกด้วย   ในวันที่ 11 พฤษภาคม  คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติตัดสินที่จะยืนตามคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ที่จะแบนภาพยนตร์เรื่องนี้  คณะกรรมการแห่งชาติพบว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้  “แม้จะดัดแปลงให้เป็นประเทศสมมุติก็ตาม  แต่ก็มีลักษณะที่สื่อความหมายให้เข้าใจว่า เป็นสังคมไทย  และบางฉากยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศ”



วันที่ 30 พฤษภาคม 2555  นายมานิต ศรีวานิชภูมิ และนางสาวสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์  ยื่นคำร้องต่อ อนุกรรมการสิทธิพลเมือง  สิทธิการเมือง และสิทธิสื่อ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  วันที่ 31 พฤษภาคม 2555  ทั้งสองยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านสิทธิมนุษยชน  สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค  วันที่ 9 สิงหาคม 2555  ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลปกครองแห่งประเทศไทย  เพื่อกลับคำสั่งแบนภาพยนตร์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย ของทั้งคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ  โดยถกเถียงว่า  คำตัดสินทั้งสองครั้งนี้เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางการแสดงออกของผู้สร้างภาพยนตร์  ซึ่งคุ้มครองโดยมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญ 2550 แห่งประเทศไทย

             

              [ทางเรา] ขอแสดงความกังวล  ว่าการแบนภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย อาจถือเป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพของนายมานิต ศรีวานิชภูมิ และ น..สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ในการแสดงออก  รวมทั้งการแสดงออกทางศิลปะและสิทธิที่ทั้งสองควรมีในการมีส่วนร่วมในชีวิตทางวัฒนธรรม  และเสรีภาพที่ขาดไม่ได้สำหรับการกระทำสร้างสรรค์



              ในขั้นตอนนี้  เราไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีนี้  อย่างไรก็ดี  เราขอร้องเรียนให้รัฐบาลของ ฯพณฯท่านดำเนินการตามขั้นตอนตามที่จำเป็น  ที่จะเรียกคืนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามที่หลักพื้นฐานที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 แห่งสนธิสัญญานานาชาติในสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ซึ่งรัฐบาลของ ฯพณฯท่านได้ลงนามรับรองไว้ในวันที่ 29 ตุลาคม 1996  ซึ่งกล่าวว่า: “ทุกคนจักมีสิทธิในการแสดงออก; สิทธินี้จักครอบคลุมถึง เสรีภาพที่จะแสวงหา, รับฟัง และเผยแพร่ข้อมูลและความคิดทุกประเภท โดยไม่จำกัดขอบเขต ไม่ว่าโดยทางวาจา ข้อเขียนหรือสิ่งพิมพ์  ไม่ว่าในรูปลักษณะของศิลปะ  หรือโดยผ่านสื่ออื่นๆ ตามที่เขาต้องการจะเลือก”



              นอกจากนี้ เราขอให้รัฐบาลของ ฯพณฯท่านอิงถึงมาตรา 15 แห่งสนธิสัญญานานาชาติ ในสิทธิทางเศรษฐศาสตร์  สังคมและวัฒนธรรม  ซึ่งรัฐบาลของ ฯพณฯท่านได้ลงนามรับรองไว้ในวันที่ 5 กันยายน 1999  ซึ่ง “ยืนยันในสิทธิของทุกบุคคลที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตของวัฒนธรรม” ตามที่เน้นย้ำไว้โดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐศาสตร์  สังคมและวัฒนธรรม  สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตของวัฒนธรรมนี้  หมายถึงสิทธิต่างๆ ที่จะมีส่วนร่วม, มีการเข้าถึง, และโอกาส  ที่จะถ่ายทอดต่อสู่ชีวิตทางวัฒนธรรม  และครอบคลุมถึงสิทธิที่ทุกคนพึงมีที่จะแสวงหาและขบคิดพัฒนาความรู้และการแสดงออกทางวัฒนธรรม  และที่จะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้กับผู้อื่น  อีกทั้งที่จะกระทำการสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการกระทำที่สร้างสรรค์” (E/C.12/GC/21, paragraph 15-a)  ใต้มาตรา 15  บรรดารัฐที่ร่วมลงนามยังได้ยืนยันอีกที่จะ “เคารพเสรีภาพอันขาดไม่ได้ในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และการกระทำสร้างสรรค์”



              เราจะขอบคุณคำตอบ[จากท่าน]  เกี่ยวกับขั้นตอนที่รัฐบาลของ ฯพณฯ ท่านได้เริ่มดำเนินการที่จะคุ้มครองสิทธิของนายมานิต ศรีวานิชภูมิ  และน..สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์  ตามที่กำหนดไว้ในเครื่องมือเอกสาร[ทางการทูตนานาชาติ] ที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น



              นอกจากนี้ เรามีความรับผิดชอบ ภายใต้คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ ที่เราได้รับจากสภาสิทธิมนุษยชน ที่จะสืบหาความโปร่งใสชัดเจนในทุกกรณีที่มีการนำเสนอมาสู่สายตาของเรา  ในเมื่อมีการคาดหมายให้เราส่งรายงานเรื่องกรณีเหล่านี้ต่อสภาสิทธิมนุษยชน  จักเป็นพระคุณยิ่งหากท่านจะร่วมมือและแบ่งปันข้อสังเกตของท่านต่อคำถามในเรื่องต่างๆ ดังนี้:

              1.  ข้อเท็จจริงของคำกล่าวหาในกรณีนี้ ถูกต้องหรือไม่?

              2.  กรุณาอธิบายว่า  อย่างไร  คำสั่งแบนที่ออกโดยทั้งคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่สาม ในวันที่ 3 เมษายน 2555 และมติยืนยันคำสั่งแบนที่ออกโดยคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ           ในวันที่ 11 เมษายน 2555 นั้น  เป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานและการใช้สอยตามปกติของสากลโลกเรื่องสิทธิเสรีภาพทางความคิดเห็นและการแสดงออก  รวมทั้งในรูปแบบของศิลปะ  สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตทางวัฒนธรรม  และเสรีภาพที่ขาดไม่ได้สำหรับการกระทำสร้างสรรค์

              3.  โปรดอธิบายว่า  อย่างไร  พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 โดยเฉพาะมาตรา 23 และ 29 พรบ. เป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานและการใช้สอยตามปกติของสากลโลกเรื่องสิทธิและเสรีภาพทางความคิดเห็นและ            การแสดงออก  รวมทั้งในรูปแบบของศิลปะ  สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตทางวัฒนธรรม  และเสรีภาพที่ขาดไม่ได้ใน          การกระทำสร้างสรรค์

              4.  โปรดให้คำตอบว่า  ศาลปกครองแห่งประเทศไทย  ที่มีการร้องเรียนไปถึงในวันที่ 9 สิงหาคม 2555 โดยนายมานิต ศรีวานิชภูมิ และน..สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ นั้น  มีการตัดสินแล้วหรือไม่  หากว่าคำตอบคือตัดสินแล้ว กรุณาให้ข้อมูลในเนื้อหาของคำตัดสินนั้น

              5.  โปรดให้คำตอบเรื่องคำตัดสินของคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง, สิทธิการเมืองและสิทธิสื่อ แห่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย  และคณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านสิทธิเสรีภาพมนุษยชนและสิทธิผู้บริโภค  ได้มีการตัดสินหรือยังต่อคำร้องที่ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ยื่นไว้ในวันที่ 30 และ 31 พฤษภาคม 2555 ตามนั้น หากว่าตัดสินแล้ว  กรุณาให้ข้อมูลในเนื้อหาของคำตัดสินนั้นๆ

             

              เราจะขอบคุณมาก  หากได้รับคำตอบภายในหกสิบวัน  คำตอบของรัฐบาลของ ฯพณฯท่านจะได้รับ             การเผยแพร่ในรายงานที่จะมีต่อสภาสิทธิมนุษยชนได้พิจารณา



              ระหว่างที่กำลังรอคำตอบจากท่าน  เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลของ ฯพณฯท่านดำเนินการทุกทางตามที่จำเป็น        ที่จะรับประกันว่า  มีการเคารพสิทธิเสรีภาพของนายมานิต ศรีวานิชภูมิ และ น..สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์  และในกรณีที่การสืบสาวของท่านสนับสนุนหรือชักนำว่าคำกล่าวหาข้างต้นนั้นมีความถูกต้อง  บุคคลใดที่เป็นผู้ทำการละเมิดดังที่กล่าวหาก็ควรจะต้องรับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม  นอกจากนั้น  เราขอร้องให้รัฐบาลของ ฯพณฯท่านดำเนินการ    ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลเพื่อป้องกันไม่ให้การกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกต่อไป



              โปรดรับ, ฯพณฯท่าน, คำยืนยันต่อความเคารพอย่างสูงที่เรามีต่อท่าน



ฟาริดา  ชาฮีด

ผู้รายงานพิเศษในสิทธิทางวัฒนธรรม





แฟรงค์  ลารู

ผู้รายงานพิเศษในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ

ทางความคิดและในการแสดงออก





















หมายเลข 52101/364                                                                                 คณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทย

                                                                                                                                5 ถนนกุสตาฟ-มอย์นเตร์

                                                                                                                                            1202 เจนีวา



                                               18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (2013)



เรียน  น..ชาฮีด และนายลารู,



              โดยอ้างอิงถึงการสื่อสารของท่าน Ref : AL Cultural Rights (2009) G/SO 214 (67-17) THA 2/2013    ลงวันที่ 15 มีนาคม 2013 ซึ่งแสดงความกังวลต่อการแบนภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย  ในโอกาสนี้ผมขอให้ข้อมูลตามที่ส่งต่อมาจากผู้มีอำนาจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อตอบประเด็นต่างๆ ในการสื่อสารนั้น



              1.  บริบทโดยรวม

                   1.1   ในฐานะที่เป็นประชาธิปไตยเสรีนิยม  ประเทศไทยให้ความสำคัญยิ่งต่อความสุขในสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนชาวไทย  รวมทั้งสิทธิเสรีภาพทางความคิดเห็นและในการแสดงออก  ทั้งสามสาขาของรัฐบาลฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ, และฝ่ายตุลาการ  ล้วนยึดมั่นในการพัฒนาและคุ้มครองสิทธิเหล่านี้

                   1.2   กฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (2008) จำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพบางอย่างทางความคิดเห็นและการแสดงออก  ซึ่งใช้เฉพาะในกรณีที่คุกคามต่อความมั่นคงของชาติและความสงบเรียบร้อยของสาธารณชน  กฎหมายนี้ไม่กัดกร่อนสิทธิต่อเสรีภาพ และการแสดงออกของสาธารณชนชาวไทยแต่ประการใด  สื่อมวลชนไทยเป็นสุขในเสรีภาพที่สูงมาก  ความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้รับการเผยแพร่ออกอากาศอย่างกว้างขวาง  และมีการถกเถียงกันอย่างมีชีวิตชีวาเกี่ยวกับทุกด้านของชีวิต  ที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุดนี้  คือ  การประชุมหนังสือพิมพ์โลกครั้งที่ 65, การประชุมบรรณาธิการโลกครั้งที่ 20  และการประชุมโฆษณาของหนังสือพิมพ์โลก ได้มีการจัดขึ้นในกรุงเทพฯ วันที่ 2-5 มิถุนายน 2013  ซึ่งนายกรัฐมนตรีของไทยได้แสดงปาฐกถาหลัก  ยืนยันบทบาทอันสำคัญของนักข่าวและสื่อมวลชน  และความจำเป็นที่สาธารณชนจะต้องรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง

                   1.3   รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับประกันเสมอ, โดยนโยบาย, สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตทางวัฒนธรรมและเสรีภาพที่ขาดไม่ได้ในการกระทำสร้างสรรค์  ตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญานานาชาติในสิทธิทางเศรษฐศาสตร์, สังคมและวัฒนธรรม  รัฐบาลได้ค้นพบว่าความสร้างสรรค์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จของเศรษฐกิจไทย  การพัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์  รวมทั้งในอุตสาหกรรมสื่อมวลชน  ได้รับการยอมรับในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแผนปัจจุบัน  ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะนำเศรษฐกิจไทยสู่หนทางการเติบโตที่ครบวงจร  รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สนับสนุนการกระทำสร้างสรรค์อย่างเต็มที่  ตราบใดที่กิจกรรมนั้นๆ ถูกต้องตามกฎหมาย



              2.  คำสั่งแบนและกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551/2008

                   2.1   ประเทศไทยยึดมั่นอย่างเคร่งครัดต่อข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติภายใต้สนธิสัญญานานาชาติในสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)  รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยเพียรพยายามที่จะรับประกันว่าประชาชนไทยเป็นสุขในสิทธิของตนเองอย่างเต็มที่  ตามที่กำหนดใน ICCPR  และสะท้อนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย    ในขณะเดียวกัน  ประเทศไทยได้ทำการส่งเสริมสิทธิตามที่กำหนดไว้ใน ICCPR ไปพร้อมๆ กับสิทธิใน ICESCR  อย่างไรก็ตาม  ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 (3) แห่ง ICCPR,  การใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกนั้น  ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบและหน้าที่พิเศษต่างๆ  ดังนั้นจึงต้องมีข้อจำกัดบางประการ   การคุ้มครองความมั่นคงของชาติ  หรือความสงบเรียบร้อยนั้น  เป็นพื้นฐานที่มีน้ำหนักในการกำหนดข้อจำกัดดังกล่าว  ข้อยกเว้นนี้คือรากฐานที่มาของมาตรา 26 (7) ของกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (2008) และกฎกระทรวง 2009 กำหนดประเภทภาพยนตร์

                   2.2   ตามนี้  คำสั่งแบนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น  เพราะเนื้อหาของหนังเรื่องนี้อาจก่อให้เกิดการแตกสามัคคีในสังคม  จึงเป็นสิ่งที่คุกคามความมั่นคงของชาติ  คำสั่งนี้ออกโดยคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (2008)  และมาตรา 7(3) แห่งกฎกระทรวง 2009 ที่กำหนดประเภทภาพยนตร์  คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนด้านภาพยนตร์และวีดิทัศน์  ศิลปะและวัฒนธรรม  และการคุ้มครองผู้บริโภค

                   2.3   ดังนั้น  ทั้งคำสั่งแบนและกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (2008) เป็นการทำตามการปฏิบัติทั่วไปและมาตรฐานของสากลโลก ในเรื่องสิทธิเสรีภาพทางความคิดเห็นและการแสดงออก โดยเฉพาะ ICCPR  และสิทธิในการมีส่วนร่วมในชีวิตของวัฒนธรรมและเสรีภาพที่ขาดไม่ได้ในการกระทำสร้างสรรค์



              3.  คำตัดสินของศาลปกครองแห่งประเทศไทยในคำร้องที่ยื่นโดยผู้สร้างภาพยนตร์ในวันที่ 9 สิงหาคม 2012

                   -      คดีนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาโดยศาลปกครองแห่งประเทศไทย  ซึ่งยังไม่ได้ออกคำตัดสิน



              4.  คำตัดสินของกรรมาธิการวุฒิสภาสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค

                   4.1   คณะกรรมาธิการสรุปว่า  อำนาจที่จะออกคำสั่งแบน เชคสเปียร์ต้องตาย เป็นของฝ่ายบริหารใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงวัฒนธรรม   กรรมาธิการวุฒิสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่มีอำนาจเรื่องนี้

                   4.2   อย่างไรก็ดี  คณะกรรมาธิการวุฒิสภาได้เสนอแนะวิธีที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาที่เป็นทางบวกในกฎหมายและการปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวกับเสรีภาพทางความคิดเห็นและการแสดงออกด้านภาพยนตร์และสื่อในประเทศไทย  คณะกรรมาธิการมีความคิดเห็นว่า  สามารถทำการแก้ไขกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (2008) เพื่อให้สนองรับสิทธิและเสรีภาพต่างๆ ของบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทย

                   4.3   ในบรรดาข้อเสนอต่างๆ นี้  คณะกรรมาธิการยังได้แนะนำให้มีการปฏิบัติงานที่สนองต่อกันที่ดีขึ้น ระหว่างองค์กรภายในรัฐบาล  กฎระเบียบต่างๆ ที่ออกโดยรัฐบาลควรต้องมีการทบทวนปรับปรุงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  นอกจากนั้น  คณะกรรมาธิการยังขอให้รัฐบาลคำนึงถึงความคิดเห็นของสาธารณชนด้วย  ในขบวนการพิจารณาตัดสินใจ  โดยการทำประชาพิจารณ์และการถกเถียงเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย



              5.  คำตัดสินของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย

                   -      คำร้องที่ยื่นไว้ต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยนั้น กำลังอยู่ในพิจารณาโดยอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  อนุกรรมการได้ส่งข้อสรุปต่อไปยังกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ให้พิจารณาสืบต่อไป  เมื่อมีการตัดสินเป็นอันขาดแล้ว  ข้อมูลดังกล่าวจะถูกสื่อสารไปยังผู้รายงานพิเศษทั้งสองต่อๆ ไป



              ผมหวังว่า ข้อมูลข้างบนนี้จะช่วยคลายความห่วงใยที่ท่านอาจยังคงมี  หากว่าท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้   โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อคณะผู้แทนถาวร   ผมขอยืนยันต่อทั้งสองท่านถึงความตั้งมั่นของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ในการทำงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสภาสิทธิมนุษยชน  เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตของวัฒนธรรม  และที่จะได้เป็นสุขในเสรีภาพอันขาดไม่ได้ในการกระทำสร้างสรรค์  ตามข้อสัญญานานาชาติที่เราต้องกระทำ





ด้วยความจริงใจ

[ลายเซ็น]

(ธานี  ทองภักดี)

เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวร